ภาพประทับใจ

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550

ธรรมะสอนใจ

... คนโง่เอาใจไว้ที่ปาก คนฉลาดเอาปากไว้ที่ใจ …
คน…. โง่เอาใจไว้ที่ปาก คนฉลาดเอาปากไว้ที่ใจ, คนฉลาดเอาปากไว้ที่ใจจะปากหนัก(ไม่ค่อยจะพูดมาก) คนโง่เอาใจไว้ที่ปาก ใจมันไม่อยู่ที่ตัวใจมันไปอยู่ที่ปาก มันจึงพูดไปวันยังค่ำ คนฉลาดเอาปากไว้ที่ใจ ความสำคัญของตัวเองที่จะเข้าใจกันไว้ ตัวของคนเราแต่ละคนมีความสำคัญ ๆ อย่างไร? สุดแท้แต่จะพิจารณา ความคิดพิจารณาต่างๆ กันตามทัศนะของใครของมัน ความสำคัญที่ตัวเอง……ส่วนมากผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษา และอบรมมักจะสำคัญมั่นหมายตนเองว่า เป็นผู้รู้ เป็นผู้เก่งกว่าเขา เป็นผู้ที่มีมั่งมีกว่าเขา เป็นผู้ที่มียศถาบรรดาศักดิ์สูงกว่าเขา เห็นคนอื่นเป็นคนต่ำต้อยไปเสียหมดเห็นหน้าคน เป็นหน้าสัตว์ไปเสียหมด ! ความสำคัญอย่างนี้เป็นความสำคัญเข้าใจผิดๆ อย่างมากที่สุด
เพราะเป็นเหตุให้เกิดมานะ จองหอง ทะนงตัว เป็นไฝฝ้า หรือเป็นรั้วปิดบังความดี จะทำความดีไม่ได้ แล้วก็จะไม่ได้ความร่วมมือจากใคร ๆ ก็ไม่สอนอีกแล้ว การทะนงตัวการมีทิฐิมานะ ใครเห็นแล้วรู้แล้วก็ปล่อยเลยตามเลย ตายก็ปล่อยให้ตายไป ภาษาธรรมะว่าเป็นไฝฝ้าปิดบังความดี ความจริงน่าจะได้ดีแต่ก็ดีไม่ได้ การมีทิฐิมานะ การทระนงตัว ความจองหองมันไปปิดบังเอาไว้หมด ถือตัวเป็นใหญ่ ว่าเป็นผู้รู้ มั่งมี ผู้ดี มียศสูงศักดิ์ กว่าเขา สำคัญว่าคนอื่นต่ำต้อยกว่า เป็นความสำคัญผิด เป็นเหตุให้เกิดมานะทิฐิ จองหอง เป็นไฝฝ้าปิดหูบังตาไม่ได้บรรลุความดี

ผู้ใดเป็นดังนี้ คนทั้งหลายจะต้องตีตัวออกห่าง ใคร ๆ ก็ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เรื่องนี้จึงอยากฝากให้ทุกคนจงคิดพิจารณาเห็นความสำคัญที่ตัวเอง ๆ ที่สำคัญว่าถ้าเราได้ดี ทำดี มันจะดีไปเสียทุกอย่าง ถ้าคิดผิดทาง สำคัญมั่นหมาย ตัวเรารู้ตัวเราดี ตัวเรามีอะไร ๆ ที่ยิ่งกว่าคนอื่น เห็นคนอื่นต่ำต้อยกว่า เป็นการสำคัญผิด เป็นเหตุให้เกิดมานะทิฐิจองหอง ไม่ยอมลดข้อให้ใครในที่สุดจะมีความได้อย่างไร

ใครคนใดที่เป็นอย่างนี้ ยากที่ใครจะชอบ ใครอยู่ใกล้ก็จะตีตัวออกห่างและไม่คิดจะอยู่ใกล้ แล้วเขาจะกลายเป็นคนที่เป็นปัญหาของสังคม เป็นที่น่ารังเกียจ ไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย ภาษาธรรมะเรียกว่า "เป็นกิเลสเครื่องเศร้าหมองหมักดองอยู่ในสันดานของเขา คนดีสละละเสียซึ่งความมั่นหมาย"
แต่ตรงกันข้าม ถ้าใครมาเห็นความสำคัญที่ตัวเองด้วยการพินิจพิจารณาตามหลักที่ว่า "อัตตัญญุตา" คือ ความรู้จักตนเองว่า มาด้วยชาติ ว่ามาด้วยตระกูล ๆ ไหน ? สูงหรือต่ำอย่างไร ? ว่าด้วยยศศักดิ์ เรามียศ มีวิทยฐานะอย่างไร เป็นกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน เป็นครูบาอาจารย์ เป็นมหาเปรียญ เป็นเจ้าคุณ หรือพระครู หรือเป็นลูกวัดเขา เป็นลูกน้องเขา อะไรเหล่านี้เป็นต้น แล้วมาตั้งตัวตั้งตนอยู่ดี ตามฐานะของตน อยู่พอดิบพอดี กิริยาเป็นระเบียบเรียบร้อย ละมุนละไมมีศีลาจารวัตร งดงาม ใครเห็นก็น่าดูน่ารัก พูดจาปราศรัยออกมาใครได้ยินก็น่าฟัง น่าเอ็นดู พวกเด็ก ๆ ก็มีความเคารพ มิตรสหายก็มีความรักใคร่ ผู้หลักผู้ใหญ่มีความกรุณาเอ็นดู …….คนที่วางตัวอย่างนี้ สำคัญมั่นหมายตัวอย่างนี้นับว่าเป็นคนดี ไม่มีข้าศึกศัตรูที่ไหนมา เด็ก ๆ ก็มีความเคารพ มิตรสหายรุ่นเดียวกัน หรือต่างรุ่นก็รักใคร่ ผู้ใหญ่ก็ให้ความเอ็นดู เขาก็จะได้อยู่เย็นเป็นสุข ไม่อยู่ร้อนนอนทุกข์ เป็นคนดีมีชื่อเสียง ใครเขาก็สรรเสริญเยินยอด้วยความจริงใจ

"อัตตัญญูตา" คือ ความรู้จักตน และก็ประพฤติปฏิบัติให้สมกับฐานะของตัว ว่าฐานะของเราเป็นอย่างไร? และวัด บ้าน โรงเรียน สถานที่ราชการ เราควรวางตัว ทำตัวอย่างไร มันมีคนพร้อมหมด เช่น พระเณร ก็มี ชาวบ้าน นักเรียนก็มี ทหารตำรวจ นายสิบนายพัน ปริญญาตรี โท เอก ก็มี นี่เป็นวิทยฐานะและใครก็ไม่ได้ถือตัวว่าเรามีวิทยฐานะอย่างไร อ้นนี้ขอฝากไว้เป็นข้อคิด อยู่พอเหมาะพอดีมีศีลาจารวัตรอันงดงาม สงบเสงี่ยมเจี่ยมตัว การพูดจาปราศัยก็พูดเฉพาะที่จะเป็น ที่ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องพูด การที่จะพูดจาอะไรจะต้องนึกคิดพิจารณาเสียก่อน ใช้สติสัมปชัญญะไตรตรองให้รอบคอบเสียก่อนว่าสมควรหรือไม่ อย่างนี้เป็นการดี จะทำอะไร อย่าให้ขาดสติสัมปชัญญะ อย่าทำอะไรเหมือนคนตาบอด อย่าให้เข้าทำนองที่กล่าวว่า "คนโง่เอาใจไว้ที่ปาก" คือ คิดอะไรก็ไหลออกปากทันที จะไม่ดี

ส่วน "คนฉลาดเขาเอาปากไว้ที่ใจ" คือ เวลาเขาจะพูด เขาจะคิดไตร่ตรอง ย้อนแล้วย้อนอีกว่าจะมีผลดี ผลเสีย และมีผลกระทบทั้งส่วนตนเองและคนรอบข้าง อย่างไร หรือไม่ ? ซึ่งเขาจะกลั่นกรองเสียก่อนจึงพูดออกมา อันนี้ให้จำใส่ใจเอาไว้ นี้คือ "อัตตัญญุตา" คือการรู้จักวางตนหรือทำตนอย่างไร?
นอกจากรู้จักตน ตั้งตนให้อยู่พอเหมาะพอดี แล้วก็จงพยายามพัฒนาตนเองให้เป็นที่พึ่งของตัวเองได้ด้วย อย่าได้คอยแต่จะพึ่งพาอาศัยคนอื่น เช่นว่าเราเป็นเด็กไม่รู้เดียงสา ตอนนั้น เราก็จะพึ่งพาอาศัยพ่อแม่เราอยู่ พอโตขึ้นมาเราก็พึ่งครูอาจารย์ เมื่อมีงานการอะไรเราก็พึ่งเจ้าของกิจการ และเพื่อน มิตรสหาย แต่ผู้ที่เป็นที่พึ่งของเราอย่างนั้นเป็นได้บางอย่าง และชั่วครั้ง ชั่วคราว พึ่งได้ตามแต่เขาจะกรุณา เช่นพ่อแม่ เราพึงท่านได้ ท่านให้ความอุปการะคุณเลี้ยงดูทุกอย่างก็แต่ในช่วงที่ท่านยังแข็งแรงหรือเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ แต่เมื่อไม่อยู่ในฐานะดังกล่าวแล้ว เราก็ไม่สามารถพึ่งได้

ครูอาจารย์ก็เหมือนกันเป็นที่พึ่งของเราก็ได้เพียงการแนะนำพร่ำสอน ถ้าเราเป็นนักเรียนที่ถูกดื้อถือรั้น สอนสั่งไม่ปฏิบัติตาม ครูอาจารย์ก็จะเอาเราคือ จะไม่เมตตา หรือถ้าท่านเมตตาก็เป็นได้ช่วงหนึ่งแห่งชีวิตของเราเมื่อยังเป็นนักเรียน แต่เมื่อเราจบมาแล้ว ๆ เรายังจะต้องพึ่งครูตลอดไปคงไม่ได้
ส่วนรายอื่น ๆ ก็เช่นกัน มีเพื่อน มิตรสหาย เจ้านายที่ทำงาน หรือผู้คนรอบข้างในสังคม ถ้าเราปฏิบัติตัวเป็นคนดี ใคร ๆ เขาก็อยากคบค้าสมาคม หรือเป็นที่พึ่งพาอาศัย ในยามที่เราเดือดร้อน บางคนแม้แต่คำแนะนำเขาก็ไม่อยากช่วยเหลือเพราะเราไม่เป็นคนดีนั่นเอง …..ดังนั้นการพึ่งที่ดีที่สุด และปลอดภัยที่สุดในชีวิตก็คือ "การทำตัวเองให้ดี และก็พึ่งตัวเอง"

ข้อสำคัญที่สุดคือ การรู้จักตนเอง ควรที่จะได้นึกเน้นให้มันลึกเข้าไป พยายามฝึกหัดดัดสันดานของตัวเอง พยายามปกครองตนเองให้มันได้ ให้ตนเองเป็นที่พึ่งของตนเองได้จริง ๆ
เมื่อเรารู้แล้วอย่างนี้ว่าเราจะทำอย่างไร? เราก็พินิจพิจารณาความสำคัญที่ตัวของเราเอง จึงขอฝากไว้เป็นที่พิจารณาว่าตัวของเราเป็นสิ่งที่สำคัญ อะไรที่ไหน ทุกสิ่งทุกอย่าง ร้ายดีถี่ห่างอยู่ที่ตัวของเราทั้งหมด เขาจะรักเรา หรือว่าชังเราก็อยู่ที่ตัวของเรานี่แหละ ….
จงมองดูที่ตัวของเราให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ถ้าหากว่าจะติคนอื่นก็ขอให้ติตัวเราเสียก่อน จะโทษคนอื่นก็จงโทษตัวเราก่อน ถ้าตัวเราดีแล้วใครเล่าเขาจะมาติ มาด่า มาว่าเรา ทำร้ายเรา ก็ไม่มี
สิ่งต่าง ๆ ที่มันเกิดขึ้น กับเราเป็นผลที่สืบเนื่องมาจากตัวของเรานี่เอง จงพยายามโทษที่ตัวเอง จงอย่าลืม " คนโง่เอาใจไว้ที่ปาก คนฉลาดเอาปากไว้ที่ใจ" จงพยายามฝึกหัดดัดสันดานตัวเองเข้าไว้ ให้เด็กเห็นเกิดความเคารพรัก ให้เพื่อน ๆ เห็นก็รักใคร่ ให้ผู้ใหญ่เห็นก็เอ็นดู นี้จึงนับว่าได้ทำตัวเองให้มีคุณค่าของความเป็นคนขึ้นมา………

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2550

Vocabulary

1.Pouring water
2.Pouring fragrant water on the seniors palms
3.Pouring fragrant water on the Buddha image
4.Water bowl
5.Thai perfume
6.Sand mounding
7.Spray gun
8.Miss Son gkran


Questions

1.When is Songkran Tradition celebrated?
2.How long has Songkran Tradition been celebrated?
3.What does sand mounding mean?
4.How many people in the picture?
5.What does pouring water mean?

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2550

ยาสีฟันของในหลวง


ผมมีภาพๆ หนึ่งเอามาให้ดูกัน เป็นภาพหลอดยาสีฟันที่ถูกใช้แล้วครับ เห็นทีแรกไกลๆ ก็ไม่รู้สึกอะไรมากหรอกครับ เป็นภาพที่ติดอยู่บนบอร์ดที่โรงเรียนของลูก ระหว่างที่รอลูกๆ ลงมาจากห้องเรียนจึงได้อ่านข้อความที่ประกอบภาพนี้อย่างละเอียด ภาพหลอดยาสีฟันที่เห็นนี้ต้องเรียกว่าเป็นหลอดยาสีฟันพระทนต์ประวัติศาสตร์ เพราะนี่คือหลอดยาสีฟันของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เห็นแล้วรู้สึกเหมือนผมไหมครับ ความเย็นจากที่ไหนก็ไม่รู้อาบลงมากลางกระหม่อมเลย ภาพนี้ถูกตีพิมพ์เป็นโปสเตอร์โดยคณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์ฯ ครูที่โรงเรียนของลูกผมไปพบเข้าเลยนำมาถ่ายสำเนาติดบอร์ดให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจคำว่า “ประหยัด" ศาสตราจารย์พิเศษทันตแพทย์หญิงท่านผู้หญิงเพ็ชรา เดชะกัมพุช ทันตแพทย์ประจำพระองค์ อดีตคณาบดีคณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขียนเล่าให้ฟังว่า “ครั้งหนึ่งทันตแพทย์ประจำพระองค์กราบถวายบังคมทูลเรื่องศิษย์ทันตแพทย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบางคนมีค่านิยมในการใช้ของต่างประเทศและมีราคาแพง รายที่ไม่มีทรัพย์พอซื้อหาก็ยังขวนขวายเช่ามาใช้เป็นการชั่วครั้งชั่วคราว ซึ่งเท่าที่ทราบมามีความแตกต่างจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่ทรงนิยมใช้กระเป๋าที่ผลิตในประเทศเช่นสามัญชนทั่วไป ทรงใช้ดินสอสั้นจนต้องต่อด้าม แม้จนยาสีพระทนต์ของพระองค์ท่านก็ทรงใช้ด้ามแปรงพระทนต์รีดหลอดยาจนแบน จนแน่ใจว่าไม่มียาสีฟันพระทนต์หลงเหลืออยู่ในหลอดจริงๆ เมื่อกราบบังคมทูลเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งว่า ของพระองค์ท่านก็เหมือนกัน และยังทรงรับสั่งต่อไปอีกว่าเมื่อไม่นานมานี้เองมหาดเล็กห้องสรงเห็นว่ายาสีพระทนต์ของพระองค์คงใช้หมดแล้ว จึงได้นำหลอดใหม่มาเปลี่ยนให้แทน เมื่อพระองค์ได้ทรงทราบก็ได้ขอให้เขานำยาสีพระทนต์หลอดเกามาคืนและพระองค์ท่านยังทรงสามารถใช้ต่อไปด้อีกถึง 5 วัน จะเห็นได้ว่า ในส่วนของพระองค์ท่านเองนั้นทรงประหยัดอย่างยิ่ง ซึ่งตรงกันข้ามกับพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ที่ทรงพระราชทานเพื่อราษฏรผู้ยากไร้อยู่เป็นนิจ พระจริยาวัตรของพระองค์ได้แสดงให้เห็นอย่างแจ่มชัดถึง พระวิริยะ อุตสาหะ ตลอดจนความประหยัดในการใช้ของอย่างคุ้มค่า หลังจากนั้น ทันตแพทย์ประจำพระองคืได้กราบพระบาททูลขอพระราชทานหลอดยาสีฟันพระทนต์หลอดนั้นเพื่อนำไปให้ศิษย์ได้เห็นและรับใส่เกล้าเป็นตัวอย่างเพื่อประพฤติปฏิบัติในโอกาสต่อๆ ไป ประมาณหนึ่งสัปดาห์หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานส่งหลอดยาสีพระทนตืเปล่าหลอดนั้นมาให้ถึงบ้าน ทันตแพทย์ประจำพระองค์รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นเกล้า ยิ่งเมื่อได้พิจารณาถึงลักษณะของหลอดยาสีพระทนต์เปล่าหลอดนั้นแล้ว ทำให้เกิดความสงสัยว่าเหตุใดยาสีฟันพระทนต์หลอดนี้จึงแบนราบเรียบโดยตลอด คล้ายแผ่นกระดาษโดยเฉพาะบริเวณคอหลอดยังปรากฏรอยบุ๋มลึกลงไปเกือบถึงเกลียวคอหลอด เมื่อได้มีโอกาสเข้าเฝ้าอีกครั้งในเวลาต่อมา จึงได้รับคำอธิบายจากพระองค์ว่า หลอดยาสีฟันพระทนต์ที่เห็นแบนเรียบนั้นเป็นผลจากการใช้ด้ามแปรงสีพระทนต์ช่วยรีดและกดจนเป็นรอยบุ๋มที่เห็นนั่นเอง และเพื่อที่จะขอนำไปแสดงให้ศิษย์ทันตแพทย์ได้เห็นเป็นอุทาหรณ์จึงได้ขอพระราชานุญาตซึ่งพระองค์ท่านก็ได้ทรงพระเมตตาด้วยความเต็มพระทัย” ผมมีโอกาสได้ยืนมองดูรูปหลอดยาสีพระทนต์หลอดนี้อยู่เนืองๆ เวลาไปรอรับลูกที่โรงเรียน และเมื่อยิ่งดูก็ยิ่งได้รับรู้ถึงปรัชญาที่พระองค์พระราชทานผ่านมาทางหลอดยาฯ นี้ แล้วผมก็พบว่าแก่นแท้ของการประหยัดอยู่ตรงนี้นี่เอง ไม่ใช่ไม่ยอมใช้เลย แต่ต้องรู้จักใช้ รู้จักใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ไม่ใช้แบบเหลือทิ้งเหลือขว้าง และทำให้ผมคิดไปถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติบนโลกใบนี้ หลอดยาสีพระทนต์ของในหลวงหลอดนี้สอนผมให้เข้าใจว่า ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์เรายังคงต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติต่อไป ไม่ใช่ไม่ใช้เลย แต่จะใช้อย่างไรมากกว่า ตัวอย่างง่ายๆ เรื่องการใช้น้ำ เราไม่ควรประหยัดน้ำจนต้นไม่ที่ปลูกอยู่ตายเพราะขาดน้ำ แต่เราควรระวังการเปิดน้ำทิ้งไว้ เราควรระวังท่อน้ำรั่วหยดซึม เราควรระวังเรื่องสิ้นเปลืองเหล่นี้ต่างหาก แล้วผมก็เลยคิดไปถึงเรื่องอื่นๆ อีกหลายเรื่อง รวมทั้งเรื่องเขื่อนว่าทำไมบางครั้งโลกเราถึงต้องยอมเสียพื้นทีป่าบางพื้นที่เพื่อสร้างเขื่อนบ้าง

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2550

สรุปการเรียนการสอน





1. สื่อการสอน

1.1 ความหมายและประโยชน์ของสื่อการสอน


ความหมาย

นักวิชาการด้านการศึกษาได้นิยามความหมายของคำว่า "สื่อการสอน หรือ สื่อการศึกษา" ไว้ดังต่อไปนี้
T. Newby และคณะ (1996) รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยเพอร์ดู (Purdue University) ให้คำจำกัดความคำว่า "instructional media" ไว้ดังนี้ "Channels of communication that carry messages with an instructional purpose; the different ways and means by which information can be delivered to learner." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "ช่องทางต่างๆ ของการสื่อสาร ซึ่งนำพาสารต่างๆ ไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน ด้วยเส้นทางและวิธีการที่สามารถนำพาสารสนเทศไปนำส่งให้ถึงผู้เรียนได้"
Fred Percival และ Henry Ellington (1984) ได้ให้คำจำกัดความคำว่า "instructional media" ไว้ดังนี้ "The physical tools of educational technology, including printed words, film, tape, records, slides and the various combinations thereof." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "เครื่องมือต่างๆ ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา อันได้แก่ เอกสารสิ่งพิมพ์ ฟิลม์ เทป เครื่องเล่นแผ่นเสียง สไลด์ และการนำเครื่องมือเหล่านี้มาใช้งานร่วมกัน"
กิดานันท์ มลิทอง (2540) รองศาสตราจารย์ ภาควิชาโสตทัศนศึกษา ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้คำจำกัดความของสื่อการสอนไว้ว่า
"สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็น เทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ แผนภูมิ ภาพนิ่ง ฯลฯ ซึ่งบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน สิ่งเหล่านี้เป็นวัสดุทางกายภาพที่นำมาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษา เป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้เป็นอย่างดี"
สุโชติ ดาวสุโข และสาโรจน์ แพ่งยัง (2535) อาจารย์ ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร และรองศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้คำจำกัดความของสื่อการสอนไว้ว่า "ส
ิ่งใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางถ่ายทอดความรู้ หรือช่วยในการเรียนรู้ ซึ่งผู้สอนและผู้เรียนเป็นผู้ใช้ เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น"
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2533) รองศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ให้คำจำกัดความของสื่อการสอนไว้ว่า "สิ่งต่าง ๆ ที่ผู้สอนและผู้เรียนนำมาใช้ในระบบการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตามจุดมุ่งหมายของการเรียน การสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น"
เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2528) รองศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ให้คำจำกัดความของสื่อการสอนไว้ว่า "วัสดุ เครื่องมือ และ/หรือ วิธีการ ที่จะนำหรือถ่ายทอดสารไปยังผู้รับ"
ชัยยงศ์ พรหมวงศ์ (2523) ศา
สตราจารย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ให้คำจำกัดความของสื่อการศึกษาไว้ว่า "ระบบการนำวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการมาเป็นตัวกลางในการให้การศึกษา ความรู้ แก่ผู้เรียน" ส่วนคำว่า สื่อการสอน หมายถึง (2523 : 112) "วัสดุ (สิ่งสิ้นเปลือง) อุปกรณ์ (เครื่องมือที่ไม่ผุพังได้ง่าย) และวิธีการ (กิจกรรม ละคร เกม การทดลอง ฯลฯ) ซึ่งใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ (อารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติและค่านิยม) และทักษะไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

ดังนั้น สรุปได้ว่า สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ต
ามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้

ประโยชน์ของสื่อการาสอน
สื่อการสอนจัดองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในระบบการเรียนการสอนหรือระบบการศึกษา เมื่อพิจารณาถึงประโยชน์หรือคุณค่าของสื่อการสอนในระบบการเรียนการสอน ได้มีนักการศึกษาหลายท่านแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวไว้หลากหลาย ในที่นี้จะพิจารณาเกี่ยวกับประโยชน์หรือคุณค่าของสื่อการสอนออกโดยแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ คุณค่าที่มีต่อผู้เรียน และ คุณค่าที่มีต่อผู้สอน ซึ่งรายละเอียดของแต่ละด้านนั้นมีดังนี้ ก. คุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อผู้เรียน
เมื่อพิจารณาคุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อผู้เรียน จะพบว่าสื่อการสอนมีคุณค่าต่อผู้เรียนดังต่อไปนี้


1 ช่วยกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน
สื่อการสอนช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจเนื้อหาของบทเรียน ที่ถูกนำเสนอผ่านทางสื่อการสอน ความสนใจของผู้เรียนเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการเรียนรู้ เพราะอาจนับได้ว่า ความสนใจเป็นบันไดขั้นแรกที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ของผู้เรียนในที่สุด ตัวอย่างของการใช้สื่อการสอนในกรณีนี้ เช่น ก่อนที่จะเริ่มต้นการสอน ผู้สอนทำการฉายวีดิทัศน์ที่เป็นโฆษณาทางโทรทัศน์ซึ่งมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในบทเรียน ความน่าสนใจของสื่อวีดิทัศน์จะช่วยกร
ะตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน นำให้ผู้เรียนสนใจฟังเนื้อหาหลักของบทเรียนต่อไป

2 ช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว
สื่อการสอนควรเป็นสิ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้เรียนรับรู้และทำความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้อย่างสะดวก ง่าย และรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทเรียนที่เนื้อหามีความสลับซับซ้อนหรือยากที่จะทำความเข้าใจ ตัวอย่างของการใช้สื่อการสอน เช่น การใช้ภาพวาดเพื่อแสดงให้เห็นถึงเส้นทางการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย หรือการใช้หุ่นจำลองเพื่อแสด
งให้เห็นถึงลักษณะและตำแหน่งที่ตั้งของอวัยวะภายใน เป็นต้น การใช้สื่อการสอนจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้รวดเร็วและง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาของการสื่อความหมายโดยการพูดซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน

3 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในบริบทของการเรียนรู้
บุคคลหรือผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านต่างๆ เช่น เพศ ระดับสติปัญญา ความถนัด ความสนใจ สมรรถภาพทางกาย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยอาจทำให้ผู้เรียนมีความถนัด หรือความสามารถในการรับรู้ และการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน การใช้สื่อการสอนจะช่วยลดอุปสรรคหรือแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียนรู้ ให้ลดลงหรือหมดไปได้ ตัวอย่างเช่น กา
รใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction) ให้ผู้เรียนเรียนเป็นรายบุคคล จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแต่ละคนใช้เวลาในการเรียนตามความสามารถในการเรียนของตนเอง เลือกลำดับหรือเนื้อหาบทเรียนตามที่ตนเองสนใจหรือถนัด ในกรณีนี้สื่อการสอนจะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเรียนรวมกันในชั้นเรียน ที่ผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้ามักจะทำความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ไม่ทันกับกลุ่มผู้เรียนที่เรียนรู้ได้เร็วกว่า เป็นต้น

4 ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
สื่อการสอนที่ถูกออกแบบมาใ
ห้ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น การใช้เกมต่อภาพ (jigsaw) แข่งขันกันเป็นกลุ่มเพื่อหาคำตอบจากภาพที่ต่อเสร็จสมบูรณ์ การใช้เกมแขวนคอ (hang man) เพื่อทายคำศัพท์ เป็นต้น สื่อการสอนเหล่านี้ช่วยเอื้ออำนวยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน หรือระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ช่วยให้บรรยากาศของการเรียนการสอนมีชีวิตชีวา มีสังคมในห้องเรียนเกิดขึ้น นำมาซึ่งการช่วยเหลือกันในด้านการเรียนรู้ต่อไป

5 ช่วยให้สามารถนำเนื้อหาที่มีข้อจำกัดมาสอนในชั้นเรียนได้
ตัวอย่างของเนื้อหาที่มีข้อจำกัด เช่น เนื้อหาที่มีความอันตราย เนื้อหาที่เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ในอดีต เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับระยะทางที่ไกล เนื้อหามีค่าใช้จ่ายสูง เป็นต้น การใช้สื่อการสอนจะช่วยลดหรือขจัดปัญหาหรือข้อจำกัดเหล่านี้ออกไปได้ ตัวอย่างเช่น การฉายวีดิทัศน์ที่บันทึกเหตุการ
ณในอดีตไว้ การใช้ภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในรูปแบบของสถานการณ์จำลองเพื่อฝึกทักษะการตัดสินใจในเรื่องของการปลดชนวนวัตถุระเบิด การใช้ Flight Simulator เพื่อฝึกนักบิน เป็นต้น การใช้สื่อการสอนจะช่วยขจัดปัญหาในการสอนเรื้อหาที่มีข้อจำกัดดังที่ได้กล่าวไปแล้วได้

6 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนอย่างกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมกับการเรียน
สภาพการเรียนการสอนที่ดี ต้องจัดให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น (active learning) สื่อการสอนที่ได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดี ต้องเป็นสื่อการสอนที่สามารถกระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนทำการเรียนรู้ด้วยความกระตือรือร้น โดยให้ผู้เรียนต้องมีปฏิสัมพันธ์กับบทเ
รียน โดยควรเน้นที่ปฏิสัมพันธ์ด้านการใช้ความคิดหรือกิจกรรมทางสมอง ตัวอย่างของสื่อการสอนที่สามารถกำหนดเงื่อนไขให้ผู้เรียนต้องเรียนรู้อย่างกระตือรือร้นหรือมีส่วนร่วมกับการเรียน ได้แก่ หนังสือบทเรียนแบบโปรแกรม บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น

7 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน สนุกสนาน และไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน
หากโดยปกติแล้วผู้สอนใช้วิธีการสอนแบบบรรยายเป็นส่วนใหญ่ การใช้สื่อการสอน จะเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศในห้องเรียนให้แตกต่างไปจากสิ่งที่เคยปฏิบัติเป็นประจำในชั้นเรียน ทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน สื่อการสอนบางอย่างยังช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเพลิดเพลินในการเรียน เรียนรู้อย่างสนุกสนานตัวอย่างเช่น การใช้สไลด์ประกอบเสียง การทดลองในห้องปฏิบัติการ การชมนิทรรศการ เป็นต้น ข. คุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อผู้สอน

เมื่อพิจารณาคุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อผู้สอน จะพบว่าสื่อการสอนมีคุณค่าต่อผู้สอนดังต่อไปนี้

1ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมการสอนหรือเนื้อหาการสอนเมื่อใช้สื่อการสอนผู้สอนไม่ต้องจดจำเนื้อหาบทเรียนทั้งหมดเพื่อนำมาบรรยายด้วยตนเอง เพราะรายละเอียดของเนื้อหาบทเรียนส่วนใหญ่จะถูกนำเสนอผ่านทางสื่อการสอน ซึ่งช่วยลดงานในการเตรียมตัวสอนลงไปได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ต้องสอนซ้ำในเนื้อหาเดิม ก็สามารถนำสื่อการสอนที่เคยใช้สอนกลับมาใช้ได้อีก การใช้สื่อการสอนยังสามารถลดภาระเรื่องเวลาในการสอนได้อีกเช่นกัน ตัวอย่างเช่น การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ การใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นต้น กรณีเหล่านี้ผู้เรียนสามารถศึก
ษาได้ด้วยตนเองโดยที่ผู้สอนไม่ต้องใช้เวลามาสอนผู้เรียนโดยตัวผู้สอน

2 ช่วยสร้างบรรยากาศในการสอนให้น่าสนใจในการสอนด้วยการบรรยายอย่างเดียวนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนควรจะต้องมีความสามารถเฉพาะตัวในการกระตุ้นและตรึงความสนใจของผู้เรียน ตลอดจนการสร้างบรรยากาศในการเรียนให้มีความน่าสนใจ ซึ่งถ้าไม่เป็นเช่นนั้นแล้วการใช้สื่อการสอนจะช่วยสร้างบรรยากาศในการเรียนให้มีความน่าสนใจขึ้นมาได้

3 ช่วยสร้างความมั่นใจในการสอนให้แก่ผู้สอนในกรณีที่เนื้อหาบทเรียนมีหลายขั้นตอน มีการเรียงลำดับ มีจำนวนมาก หรือยากที่จะจดจำ การใช้สื่อการสอนจะช่วยให้ผู้สอนมีความมั่นใจในการสอนมากขึ้น เพราะเนื้อหาเหล่านั้นสามารถที่จะบันทึ
กไว้ได้ในสื่อการสอน ตัวอย่างเช่น การใช้แผ่นใส ซึ่งช่วยผู้สอนในเรื่องของการจำลำดับการสอน เนื้อหา ตลอดจนข้อความที่ยากต่อการจดจำ ได้เป็นอย่างดี เมื่อใช้สื่อการสอน ผู้สอนจะมีความมั่นใจในเรื่องลำดับการสอน และเนื้อหาการสอน

4 กระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอเมื่อผู้สอนเห็นคุณค่าของสื่อการสอน ผู้สอนก็จะนำสื่อการสอนมาใช้ในการสอนของตนเอง ซึ่งในขั้นการเตรียมผลิตสื่อการสอน การเลือกสื่อการสอน หรือการจัดหาสื่อการสอน ตลอดจนการแสวงหาเทคนิคใหม่ ๆ มาใช้ในการสอน จะทำให้ผู้สอนเป็นผู้มีความตื่นตัว และมีการพิจารณาเพื่อทำให้การสอนบรรลุวัตถุประสงค์ และดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการปรับปรุงการสอนของตนเอง และทำให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการใช้สื่อการสอน
นอกจากคุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อ
ผู้เรียน และผู้สอนดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น มีการวิจัยเกี่ยวกับสื่อการสอนจำนวนมากที่สนับสนุนและบ่งชี้ว่า สื่อการสอนมีประโยชน์หรือมีคุณค่าต่อกระบวนการเรียนการสอน เช่น สื่อการสอนช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้มากขึ้น โดยใช้เวลาที่น้อยลง สื่อการสอนช่วยให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาบทเรียนได้นานกว่าการฟังบรรยายแต่เพียงอย่างเดียว เป็นต้น

สรุปได้ว่า สื่อการสอนมีคุณค่าต่อ
ระบบการเรียนการสอนหรือการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ในหลายประการด้วยกัน ซึ่งการพิจารณาคุณค่าของสื่อการสอนอาจทำได้โดยการพิจารณาถึงคุณค่าที่เกิดขึ้นต่อผู้เรียน และผู้สอน ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความสำคัญและมีบทบาทมากในกระบวนการเรียนการสอน ประเด็นสำคัญของคุณค่าของสื่อการสอน คือ สื่อการสอนช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา:http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=study&chapter=5&sub1=1&sub2=2



1.2ประเภทของสื่อการสอน
ในทางเทคโนโลยีการศึกษา สามารถจำแนกประเภท ของสื่อการสอน ได้ดังนี้1) เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware) ได้แก่ สื่อประเภทที่ใช้กลไกทาง อิเล็กทรอนิกส์ และไฟฟ้า เช่น เครื่องฉาย เครื่องเสียง คอมพิวเตอร์ เป็นต้น 2) วัสดุ (Software) ได้แก่ สื่อประเภทที่มีลักษณะ ดังนี้ - ใช้ควบคู่กับเครื่องมือและอุปกรณ์ เช่น ฟิล์ม แผ่นโปร่งใส สไลด์ เทป ฯลฯ - ใช้ตามลำพังของตนเอง เช่น กระดาษ รูปภาพ แผนที่ ลูกโลก หนังสือ ฯลฯ 3) วิธีการ (Techniques or Methods) ได้แก่ กระบวนการหรือกรรมวิธี ซึ่งใน บางครั้ง อาจต้องใช้วัสดุ และเครื่องมือประกอบกัน เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ได้แก่ การแสดงละคร การเชิดหุ่น การสาธิต การศึกษานอกสถานที่ การจัดนิทรรศการ การใช้คอมพิวเตอร์ ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เป็นต้น



1.3การออกแบบสื่อการสอน
การออกแบบสื่อการเรียนสอน( Material Design ) สิ่งที่นำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ จัดหา จัดเตรียม และเลือกใช้ประกอบ การเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงหลักการ - วัตถุประสงค์การเรียนรู้ - ลักษณะผู้เรียน ความเหมาะสมกับวัย ความสนใจ ระดับชั้น ความรู้ ทักษะ พื้นฐาน และประสบการณ์ของผู้เรียน - รูปแบบการเรียนการสอน และการเรียนรู้ - ธรรมชาติเนื้อหาสาระการเรียนรู้ และวิธีการนำเสนอที่เหมาะสม - สภาพการเรียน - ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น วัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ งบประมาณ
- ราคาที่เหมาะสม ในการพิจารณาออกแบบสื่อการเรียนรู้ เพื่อประกอบการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ บุคลากรที่รับผิดชอบในการจัดหาสื่อเพื่อประกอบการเรียนรู้ คือ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา ครูผู้สอน หรือผู้รับผิดชอบสาระการเรียนรู้ ซึ่งต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ

1) การออกแบบการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน
2) ลักษณะเฉพาะของสื่อต่าง ๆ การนำไปใช้ และการออกแบบ สามารถเร้าความสนใจ ให้ความหมาย และมีผลต่อประสบการณ์การเรียน
รู้แก่ผู้เรียนได้อย่างไรบ้าง
3) การจัดหาสื่อการเรียนรู้ จากแหล่งการเรียนรู้ ทั้งภายในและภายนอกสถาน ศึกษา ความคุ้มค่าในการผลิตเอง การหายืม การปรับปรุงดัดแปลง หรือเลือกจัดซื้อ
4) การประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้

3.1 การออกแบบการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนรู้ และพัฒนาระบบการเรียนการสอน ( Kearsley , 1984 ) ได้ให้ความหมายว่า ต้องมีลักษณะ 3 ประการ คือ ต้องมีการวิเคราะห์งาน หรือกิจกรรมการเรียนการสอน ต้องมีการประเมินทุกขั้นตอน และต้องมีการระบุกลยุทธการเรียน ระบุสื่อที่ใช้ สร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อผู้เรียนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ขึ้น องค์ประกอบใช้ในการออกแบบการเรียนรู้จากทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น แรงจูงใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคล จุดมุ่งหมายการเรียนรู้ การจัดลำดับเนื้อหาความรู้ การเตรียมล่วงหน้า ผู้เรียน ข้อมูลย้อนกลับ การเสริมแรง การฝึกปฏิบัติ การนำไปใช้ ฯลฯ รายงานการสังเคราะห์เอกสาร เรื่อง วิธีการสอนและรูปแบบการเรียนการสอน
( กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ 2524:137)พบวิธีสอนและการเรียนรู้ทั่วไปที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มี 24 วิธี ถ้าพิจารณาจากขั้นตอนการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละวิธีแล้ว ไม่มีข้อจำกัดว่า วิธีการเรียนการสอนใดจะเหมาะสมกับเนื้อหาใดเนื้อหาหนึ่ง แต่ละวิธีเน้นบทบาทผู้เรียน และผู้สอนแตกต่างกันไป และสามารถปรับกิจกรรมบางขั้นตอนให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผน และได้ลงมือปฏิบัติมากขึ้น




1.4 การใช้สื่อการเรียนการสอน
การใช้สื่อการสอนประกอบการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษามีความสำคัญและจำเป็นเช่นเดียวกับการศึกษาระดับอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีบางคนเห็นว่า สื่อการสอนมีความสำคัญน้อย หรือไม่เห็นความสำคัญของสื่อการสอน นิยมที่จะสอนโดยใช้การบรรยายแต่เพียงอย่างเดียว ที่จริงนั้นสื่อการสอนเป็นเทคโนโลยีทางการเรียนการสอนส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้สอนประสบผลสำเร็จในการสอน ทำให้ผู้เรียนพอใจ สนใจ และสนุกสนาน สื่อการสอนจะเป็นสื่อกลางที่ทำให้เนื้อหาบทเรียนที่ยากกลับง่ายขึ้น ทำให้บทเรียนที่ซับซ้อนชัดเจนขึ้น (สุนันท์ ปัทมาคม, 2520, หน้า150)
จากการวิจัยเรื่องความคิดเห็นของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชนเกี่ยวกับการใช้สื่อการสอนโดย สุชาติ ใจสุภาพ (2532) พบว่า อาจารย์ทุกสาขาวิชาเห็นว่าสื่อการสอนมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนมาก ช่วยให้เข้าใจบทเรียนง่ายขึ้น เร้าความ
สนใจของผู้เรียนได้ดี และช่วยประหยัดเวลาในการสอน
Exton William (1974b อ้างถึงใน ปินส์ สุขศีล, หน้า42) ได้แบ่งการใช้สื่อการสอนในระดับอุดมศึกษาออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามลักษณะของการเรียนการสอนคือ

1.สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนแบบบรรยาย

2.สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนแบบกลุ่มย่อย

3.สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนแบบปฏิบัติการ

4.สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนตามเอกัตภาพ

สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนแบบบรรยายลักษณะของการเรียนการสอนแบบบรรยายนั้น ผู้สอนจะเป็นศูนย์กลาง ความสำคัญจะอยู่ที่ผู้สอน สื่อการสอนที่นำมาใช้จะมีลักษณะเป็นเครื่องช่วยสอน กล่าวคือ สื่อการสอนที่นำมาใช้จะมีลักษณะไม่สมบูรณ์ในตนเอง ผู้สอนมีหน้าที่ในการทำให้สื่อการสอนนั้นสมบูรณ์ขึ้น สื่อการสอนที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนแบบบรรยายควรมีลักษณะ
1.1 มีขนาดเหมาะสมกับห้องเรียน
1.2 ผู้เรียนสามารถมองเห็น หรือได้ยินชัดเจนทั่วถึง
สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนแบบกลุ่มย่อย การเรียนการสอนแบบกลุ่มย่อยจะเน้นที่ผู้ร่วมกลุ่มเป็นหลัก การเรียนเน้นการออกความเห็น โดยเริ่มที่ผู้สอนแล้วจึงโยงไปสู่การอภิป
รายในกลุ่มที่เป็นบทบาทของผู้เรียน จากนั้นจึงเป็นการรายงานสรุปผลการอภิปราย สื่อการสอนที่ใช้กับการเรียนการสอนในลักษณะนี้ได้แก่ 2.1 การใช้แผ่นโปร่งใสเพื่ออธิบายก่อนแยกกลุ่ม หรือใช้กระดานชอล์ก

2.2 การใช้สื่อการสอนเพื่อประกอบการอภิปราย เช่น แผนภูมิ รูปภาพ เป็นต้น

2.3 การสรุป สามารถใช้เอกสารสิ่งพิมพ์หรือแผนภูมิ เป็นต้น
สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนแบบปฏิบัติการจริง สื่อการสอนที่นำมาใช้ได้แก่

3.1 ขั้นตอนตัวอย่างกิจกรรมปฏิบัติการ ผู้สอนสามารถทำให้ผู้เรียนเห็นจริงได้ โดยใช้สื่อการสอนประเภท เทปโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และการสาธิต เป็นต้น

3.2 ในขั้นตอนลงมือปฏิบัติการ สื่อการสอนที่นำมาใช้จะเป็นวัสดุที่ใช้ฝึกปฏิบัติและใบสั่งงาน
สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนตามเอกัตภาพ สื่อการสอนในลักษณะนี้จะแตกต่างจาก 3 ประเภทแรก เนื่องจากในประเภทนี้ผู้เรียนจะเป็นศูนย์กลางของการเรียน สื่อการสอนจะทำหน้าที่แทนผู้สอน มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้โดยการศึกษาด้วยตนเองจากสื่อการสอนนั้น ๆ สื่อการสอนที่นำมาใช้ในการเรียนการส
อนรายบุคคลนี้ ได้แก่ ชุดการสอน (Package) บทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed text) และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer assisted instruction) เป็นต้น




1.5การวัดและประเมินสื่อการเรียนการสอน

การประเมินผลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน

ส่วนที่ 1
ประเมินว่า หลังจากนักเรียนใช้โปรแกรมนี้แล้วบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ วิธีการประเมินผลส่วนนี้กระทำโดยผู้เรียนทำแบบทดสอบ ก่อนและหลังการใช้โปรแกรม เพื่อวัดความก้าวหน้าของผู้เรียน ถ้าผลการทดสอบออกมาติดลบแสดงว่าหลังจากการ ใช้โปรแกรมผู้เรียนไม่ได้พัฒนาขึ้นเลย จำเป็นต้องมีการปรับปรุงต้นแบบหรือวัตถุประสงค์ใหม่ เพราะ วัตถุประสงค์ใหม่เพราะโปรแกรมที่สร้างไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้
ส่วนที่ 2 ประเมินในส่วนของโปรแกรมและการทำงานว่า การใช้โปรแกรมกับเนื้อหารวิชานี้เหมาะสมหรือไม่ เจตคติของผู้เรียนต่อการใช้โปรแกรมเป็นอย่างไร วิธีการใช้โปรแกรมง่ายยากอย่างไร วิธีการสอนบทเรียน ความถูกต้องของเนื้อหา เอกสารประกอบ การติดต่อกับผู้เรียน เป็นอย่างไรการประเมินผลเป็นอย่างไรการประเมินผลส่วนนี้จะใช้แบบสอบถาม จากขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่
วยสอนที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนี้
จะเห็นว่าการออกแบบซึ่งได้แก่ระบุเหตุผล กำหนดวัตถุประสงค์และลำดับขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นตัวกำหนดความสำเร็จของงานแต่ผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนส่วนใหญ่ละเลย ขั้นตอนเหล่านี้หรือให้ความสนใจในส่วนนี้น้อยมาก กลับไปสนใจโปรแกรมทำให้วงขยายกว้างขึ้นเกินไป และมักจะล้มเหลวในที่สุดเพราะไม่มีแผนหรือต้นแบบควบคุมการทำงาน
แนวทางการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นการเสนอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้ตระหนังถึงแนวทางที่ถูกต้องในการพัฒนาและประยุกต์ใช้สื่อการสอน ได้ตระหนักถึงแนวทางที่ถูกต้องในกา
รพัฒนาประยุกต์ใช้ สื่อการสอนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในวงการการศึกษาและเป็นการส่งเสริมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เริ่มงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยลำดับขั้นตอนการทำงานที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ตรงตามวัตถุประสงค์ และมีประสิทธิภาพ

ที่มา:http://www.sekathai.th.gs/web-s/ukaew/testing.htm

2.การออกแบบสื่อวัสดุกราฟฟิก

การออกแบบที่ดีควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

1.การจัดองค์ประกอบดี วางตำแหน่งทิศทางของเส้นต่าง ๆ ให้สมดุล มีการให้สี แสง เงาที่ดี มีจุดสนใจโดยเน้นจุดสนใจให้เด่นชัด

2.สื่อความหมายได้ชัดเจน เมื่อผู้ดูดูแล้วจะได้ทราบถึงสิ่งที่ต้องการสื่อความหมาย

3.มีความตัดกันและคมชัด ภาพที่เน้นจุดสนใจจะทำให้ภาพแลดูน่าสนใจ มากกว่าภาพที่ไม่มีการเน้นส่วนสำคัญซึ่งจะทำให้ภาพดูไม่มีมิติ

4.ใช้วัสดุให้เหมาะสม โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าในการออกแบบเพื่อที่จะได้สื่อความหมายให้ตรงกับวัตถุประสงค์ ควรมีการวางแผนหรือวางโครงร่างคร่าว ๆ ก่อน

หลักการที่ทำให้การออกแบบสามารถดึงดูด ความสนใจของผู้ดูมีหลักการดังต่อไปนี้

1.ความง่าย ( Simplify ) หมายถึง ง่ายต่อการสื่อความหมายสามารถเข้าใจได้ทัน ง่ายในการอ่าน และง่ายต่อการนำไปใช้

2.เป็นเอกภาพ ( Unity ) หมายถึง มีความกลมกลืนกัน ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง สี หรือช่องว่าง

3.การเน้น ( Emphasis ) หมายถึง ออกแบบให้มีแนวความคิดเดียวหรือจุดสนใจเดียว

4.ความสมดุล ( Balance ) หมายถึง น้ำหนักทางซ้ายและขวา จะเท่า ๆ กัน ซึ่งความสมดุลแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ

4.1 ความสมดุลตามแบบ ( Formal balance ) คือลักษณะทั้งสองข้างจะเท่ากัน

4.2 ความสมดุลไม่ตามแบบ,สมดุลด้วยสายตา ( Informal balance ) คือลักษณะทั้งสองข้างจะไม่เหมือนกัน แต่ความรู้สึกเหมือนสมดุลกัน เช่น ภาพใหญ่สีอ่อน จะสมดุลกับภาพเล็กสีเข้ม ในการออกแบบภาพประกอบการสอน การออกแบบแผ่นใส หรือการจัดองค์ประกอบภาพ สามารถใช้องค์ประกอบทางศิลปะเป็นแนวทางได้ สิ่งที่จะช่วยให้การออกแบบเร้าความสนใจผู้เรียนยิ่งขึ้น คือ

1.เส้น ( Line ) ช่วยนำสายตาผู้ดู

2.รูปร่าง ( Shape ) ช่วยเร้าความสนใจเบื้องต้น

3.พื้นผิว ( Texture ) เพื่อเน้นถึงความแตกต่างและช่วยให้เกิดมิติ

4.สี ( Color ) ช่วยเพิ่มความเหมือนจริง ความแตกต่าง เน้นสิ่งที่ต้องการ ตลอดจนการแสดงออกถึงอารมณ์ของภาพได้เป็นอย่างดี

5.ช่องว่าง ( Space ) เพื่อความเป็นระเบียบ และถ้าเป็นตัวอักษรช่องว่างจะช่วยให้ง่ายต่อการอ่าน

ที่มา:http://www.kc.bma.go.th/av/av7.htm